ไม่พบรายการที่ท่านค้นหา


เลือกเครื่องฟอกอากาศอย่างไร ให้เหมาะกับการใช้งาน

          บ้านไหนที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ฝุ่น แพ้อากาศ หรือภายในบ้านมีกลิ่นอับ กลิ่นไม่พึงประสงค์ อยากหาเครื่องฟอกอากาศดี ๆ ซักเครื่องมาใช้ แต่กำลังหาข้อมูลอยู่ ในบทความนี้ BnB home มีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับเครื่องฟอกอากาศมาฝากกัน


หลักการทำงาน เครื่องฟอกอากาศ

          เครื่องฟอกอากาศจะดูดอากาศเข้าไปในตัวเครื่อง ไปผ่านตัวกรองเพื่อดักจับสิ่งแปลกปลอมในอากาศ ตัวเครื่องฟอกจะช่วยกำจัดฝุ่น แบคทีเรีย ไวรัส หรือกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ จากนั้นก็ปล่อยอากาศที่บริสุทธิ์และสะอาดออกมา ซึ่งเครื่องฟอกอากาศเป็นตัวฟอกและกรองให้อากาศสะอาดขึ้น ไม่สามารถช่วยกำจัดฝุ่นตามตู้ เตียง หรือตามเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านได้


วิธีการเลือกเครื่องฟอกอากาศ

1. ชนิดของเครื่องฟอกอากาศ

          - เครื่องฟอกอากาศแบบพัดลม

          ติดตั้งง่าย เหมาะสำหรับบ้านที่ต้องการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศมากกว่า 1 ห้อง เพราะราคาไม่สูงมาก การทำงานของเครื่องฟอกอากาศชนิดนี้ ใบพัดจะพัดเอาอากาศในห้องเข้าไป ทั้งฝุ่นละออง เชื้อโรคต่าง ๆ และกลิ่นไม่พึงประสงค์ จะถูกไส้กรองดักจับไว้ จากนั้นเครื่องฟอกอากาศจะปล่อยอากาศที่บริสุทธิ์และสะอาดออกมา หากใช้เครื่องฟอกอากาศแบบพัดลมควรถอดไส้กรองออกมาทำความสะอาดเป็นประจำ และเปลี่ยนไส้กรอกใหม่ตามอายุการใช้งาน เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน

          - เครื่องฟอกอากาศแบบไฟฟ้าสถิต

          ไม่มีเสียงดังรบกวน เหมาะกับห้องที่ใส่ใจคุณภาพอากาศมากเป็นพิเศษ อย่างห้องนอน ห้องเด็กอ่อน เนื่องจากใช้ไฟฟ้าสถิตในการดักจับฝุ่นละออง และเชื้อโรคต่าง ๆ ทำให้ไม่ต้องกังวลว่าไส้กรองจะอุดตัน อายุการใช้งานนานกว่าเครื่องฟอกอากาศแบบพัดลม แต่มีราคาสูง

          - เครื่องฟอกอากาศระบบไอออน

          ตัวเครื่องมีขนาดไม่ใหญ่ จึงเหมาะกับห้องที่มีพื้นที่จำกัด อย่างเช่น ห้องน้ำหรือในรถ หลักการทำงาน คือ เครื่องฟอกจะปล่อยไอออนลบออกมา เพื่อฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ และดับกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ทำให้อากาศสะอาดและบริสุทธิ์ขึ้น หากต้องการใช้เครื่องฟอกอากาศระบบไอออนในพื้นที่ที่กว้างขึ้น สามารถเลือกเครื่องฟอกอากาศ 2 ชนิดแรกที่มีฟังก์ชั่นเสริมเป็นระบบไอออนก็ได้


2. เลือกเครื่องฟอกอากาศให้เหมาะกับขนาดห้อง

          เครื่องฟอกอากาศส่วนมากจะระบุว่าสามารกใช้ได้กับห้องขนาดเท่าไหร่ เราแค่วัดขนาดความกว้าง ความยาวของห้องที่จะติดตั้งเครื่องฟอกอากาศเพื่อไปเทียบ และควรเลือกเครื่องฟอกอากาศที่ครอบคลุมพื้นที่มากกว่าห้องที่เราใช้งานจริง


3. ค่า CADR (Clean Air Delivery Rate)

          เป็นอัตราการสร้างอากาศบริสุทธิ์ต่อชั่วโมง โดยค่านี้ได้จากการวัดปริมาณอากาศทั้งหมดที่ระบบฟอกอากาศทำความสะอาดได้ภายใน 1 นาที ซึ่งปกติแล้วจะแสดงผลเป็น 3 ตัวเลข คือ อัตราทำความสะอาดอากาศที่มีฝุ่นละออง อากาศที่มีเกสรดอกไม้ และอากาศที่มีควันบุหรี่ ยิ่งค่าตัวเลขมาก เครื่องฟอกอากาศก็สามารถกรองสิ่งสกปรกได้ดี


4. ค่า Airflow หรือ Air Volume

          เป็นค่าความเร็วลม วัดจากปริมาณอากาศที่ดูดเข้าไป และปล่อยอากาศบริสุทธิ์ออกมาจากเครื่องฟอกอากาศต่อครั้ง ยิ่งค่าตัวเลขมาก แสดงว่าเครื่องสามารถฟอกอากาศได้ไว ทำให้คุณสามารถสูดอากาศบริสุทธิ์ได้เร็วยิ่งขึ้น


5. เครื่องฟอกอากาศที่สามารถเปลี่ยนไส้กรองได้

          เมื่อเราใช้เครื่องฟอกอากาศไปนาน ๆ ประสิทธิภาพของไส้กรองย่อมลดลงไปเรื่อย ๆ จนหมดอายุการใช้งานในที่สุด และไม่สามารถดักจับฝุ่น หรือเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ จึงควรเลือกเครื่องฟอกอากาศแบบที่สามารถเปลี่ยนไส้กรองได้ แนะนำให้เลือกรุ่นที่เป็นแผ่นกรอง HEPA Filter (High Efficiency Particulate Air) เพราะสามารถดักจับฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ และเชื่อโรคต่าง ๆ ได้


6. เครื่องฟอกอากาศที่มีฟังก์ชั่นเสริมอื่น ๆ

          ปกติแล้วฟังก์ชั่นเสริมพื้นฐานที่ควรมีมากับเครื่องฟอกอากาศ คือ Auto Mode ระบบที่สามารถปรับระดับความเบา-แรงของเครื่องฟอกอากาศได้โดยอัตโนมัติ และฟังก์ชั่นตั้งเวลาปิด-เปิด เพื่อให้เครื่องฟอกอากาศสามารถหยุดทำงานในขณะที่เราหลับหรือไม่อยู่บ้านได้


          ฟังก์ชั่นเสริมที่น่าสนใจ เช่น สามารถเชื่อมต่อ WIFI และทำงานได้จากการควบคุมผ่านทางสมาร์ทโฟน หรือมีเครื่องวัดคุณภาพอากาศ หากมีฝุ่นเยอะ เครื่องฟอกอากาศจะเร่งทำงานเอง และหากค่าฝุ่นน้อยเครื่องก็จะลดการทำงานลง เพื่อไม่ให้กินไฟ หรือฟังก์ชั่นดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่ติดห้อง พวกกลิ่นอาหาร กลิ่นบุหรี่ หรือกลิ่นสัตว์เลี้ยง โดยเครื่องฟอกอากาศจะมีเซนเซอร์ดักจับและกำจัดกลิ่นเหล่านี้โดยอัตโนมัติ ช่วยให้อากาศบริสุทธิ์และสะอาดขึ้น ซึ่งได้ผลดีกว่าพวกสเปรย์หรือน้ำหอมปรับอากาศ ที่ใช้กำจัดกลิ่นได้แค่เพียงชั่วคราว

 

>> ช้อปเครื่องฟอกอากาศ ได้ที่หน้าร้าน และหน้าเว็บ คลิก

 

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

มองไม่เห็น ใช่ว่าจะไม่มี!! กำจัดไรฝุ่นบนที่นอน สาเหตุโรคภูมิแพ้

10 จุดสะสมเชื้อโรคภายในบ้าน ที่มักลืมทำความสะอาด

สินค้าแนะนำ