ไม่พบรายการที่ท่านค้นหา

เปรียบเทียบเครื่องทำน้ำอุ่น อาบอุ่นผ่อนคลาย เลือกแบบไหนดี

          ใกล้เข้าหน้าหนาวแล้ว เครื่องทำน้ำอุ่นคงเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าอีกหนึ่งอย่างที่เจ้าของบ้านหลายท่านกำลังตัดสินใจจะซื้อ ซึ่งจริง ๆ แล้วเครื่องทำน้ำอุ่นมีให้เลือกใช้งานหลากหลายรูปแบบ แต่ที่นิยมใช้กันตามบ้านทั่ว ๆ ไปคงหนีไม่พ้นระบบไฟฟ้า เพราะนอกจากการติดตั้งที่สะดวกแล้ว ยังมีการใช้งานที่ง่าย และมีฟังก์ชั่นที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้มากมาย ในบทความนี้ BnB home มีวิธีเลือกเครื่องทำน้ำอุ่นสำหรับใช้ในครัวเรือนมาฝาก ไม่ว่าจะดูเรื่องระบบทำความร้อน กำลังวัตต์ รวมถึงเรื่องความปลอดภัยที่ไม่ควรมองข้ามอีกด้วย

หลักการเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่น

เลือกเครื่องทำน้ำอุ่นจากระบบทำความร้อน

          ระบบทำความร้อนของเครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้าจะมีด้วยกัน 2 ระบบหลัก ๆ ด้วยกันคือ

1. เครื่องทำน้ำอุ่นแบบหม้อต้ม

การทำงานของระบบนี้ จะมีหม้อต้มที่ทำจากวัสดุที่แตกต่างกัน แล้วกระจายความร้อนไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านก๊อกเพื่อผสมน้ำก่อนไหลเข้าสู่ฝักบัว ซึ่งระบบทำความร้อนแบบหม้อต้มนี้ จะแบ่งได้อีก 2 ประเภท ได้แก่
          เครื่องทำน้ำอุ่นแบบหม้อต้มทองแดง เป็นระบบดั้งเดิมที่จะมีหม้อทองแดงอยู่ภายในเครื่อง ทำให้ได้น้ำร้อนอย่างรวดเร็ว อุณหภูมิคงที่ ทนความร้อนได้ดี และมีอายุการใช้งานยาวนาน แต่มีโอกาสเกิดตะกรันได้

เครื่องทำน้ำอุ่น ยี่ห้อ MEX

เครื่องทำน้ำอุ่น MEX รุ่น CODE 5E (CB) กำลัง 5,100 วัตต์



          เครื่องทำน้ำอุ่นแบบหม้อต้มพลาสติกกริลลอน เป็นหม้อต้มที่พัฒนามาจากหม้อต้มทองแดง ซึ่งเป็นวัสดุเดียวกับที่ใช้ทำหม้อน้ำในรถยนต์ สามารถทนความร้อนได้สูงถึง 260 องศาเซลเซียส แต่มีบางผู้ผลิตที่ทำเป็นวัสดุเลียนแบบ ซึ่งอาจใช้พลาสติกคุณภาพต่ำ มีโอกาสอาจรั่วซึมได้ง่าย

เครื่องทำน้ำอุ่น ยี่ห้อ STIEBEL ELTRON

เครื่องทำน้ำอุ่น STIEBEL ELTRON รุ่น DE 35 E กำลัง 3,500 วัตต์ สีขาว



2. เครื่องทำน้ำอุ่นแบบน้ำผ่านร้อน

          หรือเรียกอีกอย่างว่า เครื่องทำน้ำอุ่นแบบขดลวดทองแดง การทำงานของระบบนี้ คือน้ำจะไหลผ่านท่อหรือขดลวดทองแดงที่ทำให้ได้น้ำร้อนเร็วทันใจ อีกทั้งตัวเครื่องยังมีขนาดเล็กบาง ข้อเสียของเครื่องทำน้ำอุ่นระบบนี้ก็คือหากแรงดันน้ำไม่สม่ำเสมอ มีโอกาสเกิดปัญหาเรื่องความคงที่ของอุณหภูมิน้ำได้ อีกทั้งมีโอกาสที่ท่อภายในเกิดการอุดตันของหินปูนจากน้ำได้ง่าย


เลือกเครื่องทำน้ำอุ่นจากระบบป้องกันความปลอดภัย

          การเลือกเครื่องทำน้ำอุ่น ข้อสำคัญที่สุดคือเรื่องความปลอดภัย ซึ่งระบบป้องกันไฟดูดด้วยการตัดไฟฟ้าอัตโนมัติภายในเครื่องทำน้ำอุ่นมีอยู่ 2 ระบบ ดังนี้
          • ELCB (Electronic Earth Leakage Circuit Breaker) หรือ ELB เป็นเบรกเกอร์กันไฟดูดที่มีหน้าตาคล้ายกับเบรกเกอร์ของปั๊มน้ำ ถ้ามีไฟฟ้ารั่วเบรกเกอร์ ELCB จะตัดไฟฟ้าออกจากระบบภายในเสี้ยววินาที โดยผู้ใช้ควรกดปุ่ม TEST บนแผงหน้าปัดเครื่อง อย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อตรวจสอบความมั่นใจว่าระบบตัดไฟยังทำงานดีอยู่
          • ELSD (Electronic Leakage Safety Device) หรือ ESD จริง ๆ แล้วก็คือระบบ ELCB ที่พัฒนาให้เป็นแผงวงจรตัดไฟอิเล็กทรอนิกส์ โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของตัวเครื่อง จึงสามารถออกแบบให้ตัวเครื่องมีขนาดเล็กลงได้ หากมีไฟฟ้ารั่วไหลเพียงเล็กน้อยก็สามารถตัดกระแสไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็ว

เลือกเครื่องทำน้ำอุ่นจากกำลังไฟที่เหมาะสม

          โดยทั่วไปเครื่องทำน้ำอุ่นจะมีกำลังไฟหรือกำลังวัตต์ที่หลากหลายตั้งแต่ 3,500 วัตต์ 4,500 วัตต์ และ 6,000 วัตต์ ซึ่งการเลือกกำลังวัตต์จำเป็นต้องตรวจสอบกำลังไฟจากมิเตอร์ไฟฟ้า หากมิเตอร์ไฟขนาด 5(15) ควรใช้เครื่องทำน้ำอุ่นไม่เกิน 3,500 วัตต์ และมิเตอร์ไฟขนาด 15(45) สามารถใช้ได้ถึง 4,500-6,000 วัตต์
          อีกหนึ่งปัจจัยในการเลือกกำลังวัตต์คือ หากเป็นพื้นที่ที่มีสภาพอากาศอุณหภูมิปกติ เช่น กรุงเทพฯ ปริมณฑลและภาคใต้ สามารถเลือกเครื่องทำน้ำอุ่นกำลังไฟประมาณ 3,500 - 4,500 วัตต์ได้ เพราะเพียงพอต่อการทำความร้อนและสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้อีกด้วย แต่หากเป็นจังหวัดที่มีอากาศหนาว อาจจะต้องเลือกเครื่องทำน้ำอุ่นที่มีกำลังวัตต์สูงขึ้นอย่าง 6,000 วัตต์ เพื่อให้ทำความร้อนได้สูงขึ้น

เลือกเครื่องทำน้ำอุ่นที่บริการหลังการขาย

          แนะนำให้เลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นจากผู้ผลิตที่ได้การรับรองมาตรฐาน เช่น เครื่องหมายรับรองคุณภาพจาก มอก. ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 เป็นต้น รวมถึงระยะเวลารับประกันสินค้า ดังนี้
          • ฮีทเตอร์ทำความร้อนและระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้มาตรฐาน ควรมีการรับประกันอย่างน้อย 1 ปี
          • หม้อต้มที่ได้คุณภาพและปลอดภัยควรมีการรับประกันอย่างน้อย 5 ปี

เรื่องความปลอดภัยทั่วไปที่ควรพิจารณาก่อนเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่น

          • เครื่องทำน้ำอุ่นที่ปลอดภัยจะต้องมีระบบตัดไฟติดตั้งอยู่ในตัวเครื่อง แต่ถ้าเครื่องทำน้ำอุ่นที่ไม่มีตัวตัดไฟ ควรซื้อเบรคเกอร์ชนิดที่ตัดได้ทั้งไฟเกิน ไฟรั่ว ไฟดูด มาติดตั้งเพิ่มเติม
          • เครื่องทำน้ำอุ่นที่ไม่มีเครื่องป้องกันไฟดูดติดตั้งอยู่ในตัวเครื่อง ควรต้องมีฝาหลังที่ยึดติดกับฝาผนังทำจากโลหะ เพราะหากมีกระแสไฟฟ้ารั่วจะได้รั่วลงดินผ่านทางฝาหลัง ออกไปยังน็อตสกรูที่ยึดติดกับปูนฝาผนัง
          • เครื่องทำน้ำอุ่นที่ได้มาตรฐานต้องออกแบบให้สวิตช์ควบคุมแรงดันน้ำอยู่ในตำแหน่งเยื้องใต้หม้อต้มน้ำร้อน โดยไม่ใช่อยู่ข้างใต้ตรง ๆ เพราะหากหม้อต้มน้ำร้อนรั่ว น้ำจะไม่หยดลงบนตัวสวิตช์ อีกทั้งตัวสวิตช์ต้องมีวัสดุกันน้ำชนิดคลุมมิดชิด
          • สายดินหรือสายกราวนด์ในตัวเครื่องจะต้องไม่เล็กกว่า 2.5 SQ.MM. และมีสวิตช์ควบคุมอุณหภูมิที่ทำหน้าที่ตัดไฟเวลาน้ำอุ่นร้อนได้ที่

 ช้อปเครื่องทำน้ำอุ่น ได้ที่หน้าร้าน และหน้าเว็บ คลิก

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เครื่องทำน้ำอุ่น-น้ำร้อน...เลือกใช้อะไรดี
อย่ามองข้าม!! คราบหินปูนที่หัวฝักบัวและหัวสายฉีด

สินค้าแนะนำ