มีด ที่ควรมีไว้ติดครัว
การเลือกมีดทำครัว ควรเลือกให้เหมาะกับการใช้งาน เพื่อลดการเกิดอันตรายจากการใช้มีดผิดประเภท และเลือกขนาดหรือน้ำหนักของมีดให้เหมาะกับมือ เวลาใช้งานจะได้จับได้ถนัดมือ ซึ่งมีดนั้นมีหลายประเภทตามการใช้งาน ทั้งมีดหั่นผัก มีดแล่เนื้อ มีดสำหรับสับ ไปจนถึงมีดปอกผลไม้ แล้วมีดแบบไหน ที่ควรมีไว้ติดครัว บทความนี้มีคำตอบ
มีดทำครัวที่ BnB home อยากแนะนำสำหรับคนที่ทำอาหารง่าย ๆ เองที่บ้าน มี 3 แบบด้วยกัน
1. มีดอเนกประสงค์ (Utility Knife)
เป็นมีดที่ใช้งานได้หลากหลายตามชื่อเรียกเลย ไม่ว่าจะเป็นการหั่น แล่ ซอย สับ และบั้ง ส่วนมากจะใช้หั่นผัก ผลไม้ ขนาดของมีดจะไม่ใหญ่มาก ความยาวมาตรฐานอยู่ที่ 4 – 7 นิ้ว น้ำหนักกำลังพอดี ทำให้ใช้งานได้สะดวก เหมาะมือ ไม่เทอะทะจนเกินไป
2. มีดปอก (Paring Knife)
มีดประเภทนี้มีขนาดบางและเล็ก ความยาวมาตรฐานอยู่ที่ 2.5 - 4 นิ้ว อีกทั้งยังน้ำหนักเบา ทำให้จับได้ถนัดมือ สามารถใช้งานได้อย่างคล่องตัว และรวดเร็ว จึงเหมาะกับการใช้งานที่เน้นความละเอียด โดยเฉพาะการปอกเปลือกผัก ผลไม้ หรืออาจใช้ตัดผักหรือหั่นเนื้อบางประเภทให้เป็นชิ้นพอดีคำได้อยู่เหมือนกัน
3. มีดสับ (Cleaver)
ลักษณะของมีดสับจะมีใบมีดทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดใหญ่และหนัก เพื่อให้มีแรงส่งในการสับ มีดชนิดนี้จึงเหมาะกับการสับเนื้อสัตว์หรือวัตถุดิบที่มีความแข็ง เช่น กระดูก ข้อต่อ เอ็น หรืออาหารแช่แข็ง เป็นต้น สำหรับมีดสับที่ใช้ทำอาหารเองที่บ้าน ไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่และหนัก เหมือนมีดปังตอที่ใช้กันตามร้านขายเนื้อสัตว์ในตลาด ขนาดของมีดสับที่เหมาะกับการใช้ทำอาหารเองที่บ้าน จึงควรอยู่ที่ 6 – 7 นิ้ว
นอกจากมีดสำหรับคนที่เน้นทำครัวอยู่บ้านแล้ว ยังมีมีดที่เชฟมืออาชีพหรือที่ตามร้านอาหารใช้กันอีกด้วย ดังนี้
1. มีดเชฟ (Chef’s Knife)
มีดเชฟมีลักษณะ รูปทรงคล้ายมีดอเนกประสงค์ (Utility Knife) แต่มีขนาดใหญ่กว่า ความยาวมาตรฐานของมีดเชฟอยู่ที่ 6 - 12 นิ้ว ลักษณะการใช้งานก็คล้ายกับมีดอเนกประสงค์เลย คือ หั่น แล่ ซอย สับ และบั้ง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะใช้ในขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ ใช้ได้กับทั้งเนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ ที่มีขนาดใหญ่กว่ามะเขือเทศชนิดลูกใหญ่ขึ้นไป มีดเชฟควรมีน้ำหนักที่เหมาะสม ไม่หนักจนไป เพราะหากเชฟใช้งานมีดนี้ตลอดทั้งวัน จะทำให้ใช้มีดทำงานได้ไม่คล่องตัว
2. มีดแล่เนื้อ (Carving Knife)
มีดประเภทนี้เหมาะกับผู้ที่เชี่ยวชาญในการใช้มีดเป็นพิเศษ เพราะเป็นมีดเฉพาะทางเลยก็ว่าได้ ลักษณะของมีดจะมีปลายที่เล็ก แหลม และคม ขนาดของมีดมีความยาวพอสมควร อยู่ที่ 8 – 10 นิ้ว หรืออาจจะยาวถึง 15 นิ้วเลย ซึ่งเป็นมีดที่ถูกออกแบบมาให้สามารถแล่ชิ้นเนื้อได้บางมากกว่าที่จะใช้มีดประเภทอื่น และได้ความสวยงาม น่ารับประทานในขั้นตอนการจัดจานเสิร์ฟ สามารถแล่ได้ทั้งเนื้อปลา เนื้อหมู เนื้อวัว แฮม ไปจนถึงพวกสัตว์ปีก อีกทั้งยังใช้ได้กับทั้งเนื้อที่สุกและไม่สุก
3. มีดหั่นขนมปัง (Bread Knife)
เป็นมีดอีกประเภทที่ใช้งานเฉพาะทาง ความยาวมาตรฐานของมีดอยู่ที่ 6 – 10 นิ้ว ใบมีดมีลักษณะเป็นรอยหยักเหมือนฟันเลื่อย จึงทำให้สามารถหั่นของที่มีความแข็งด้านนอก แต่เนื้อนุ่มด้านใน อย่างขนมปัง หรือผักผลไม้ที่มีผลนิ่มด้านใน อย่างมะเขือเทศ ได้อย่างสวยงาม เรียบเนียน ไม่ฉีกขาด เนื่องจากใบมีดเป็นรอยหยัก จึงไม่แนะนำให้ลับคมมีด หากมีไม่คมแล้วควรเปลี่ยนมีดเล่มใหม่แทน
อ้างอิงข้อมูลจาก: Wongnai, unileverfoodsolutions.co.th, baanlaesuan.com,
officemate.co.th, condonewb.com
>> ช้อปมีดทำครัว ได้ที่หน้าร้าน และหน้าเว็บ คลิก
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
รู้ก่อนเลือก หัวเตาแก๊สแบบที่เหมาะกับการใช้งาน
เลือกใช้กระทะ ให้เหมาะกับการปรุงอาหาร